วันเสาร์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2558

รูปภาพโครงงานวิทยาศาสตร์

                               รูปภาพโครงงานวิทยาศาสตร์

โครงงานเลื่อยพลังงานปั่น

โครงงานถั่วงอกคอนโดปลอดสารพิษ

โครงงานน้ำยาเอนกประสงค์จากธรรมชาติ


การนำเสนอโครงงานวิทยาศาสตร์

การนำเสนอผลงานโครงงานวิทยาศาสตร์
          การนำเสนอผลงานโครงงานวิทยาศาสตร์ อาจทำได้ในแบบต่าง ๆ กัน เช่น การแสดงในรูป
นิทรรศการ ซึ่งมีทั้งการจัดแสดงและการอธิบายด้วยคำพูด หรือในรูปแบบของการรายงานปากเปล่า
ไม่ว่าการนำเสนอผลงานจะอยู่ในรูปแบบใด ควรครอบคลุประเด็นสำคัญคือ มีความชัดเจน เข้าใจง่าย
และมีความถูกต้องในเนื้อหา
          การแสดงผลงานจัดได้ว่าเป็นขั้นตอนสำคัญอีกประการหนึ่งของการทำโครงงาน เรียกได้ว่า
เป็นงานขั้นสุดท้ายของการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ เป็นการแสดงผลิตผลของงาน  ความคิด  และ
ความพยายามทั้งหมดที่ผู้ทำโครงงานได้ทุ่มเทลงไป และเป็นวิธีการที่จะทำให้ผู้อื่นได้รับรู้และเข้าใจ
ถึงผลงานนั้น ๆ มีผู้กล่าวว่าการวางแผนออกแบบเพื่อจัดแสดงผลงานนั้นมีความสำคัญเท่า ๆ กับ
การทำโครงงานนั่นเอง  ผลงานที่ทำขึ้นจะดียอดเยี่ยมเพียงใด  แต่ถ้าการจัดแสดงผลงานทำได้ไม่ดี
ก็เท่ากับไม่ได้แสดงความดียอดเยี่ยมของผลงานนั่นเอง
ประเด็นสำคัญที่ควรจัดให้ครอบคลุม
          การแสดงผลงานนั้นอาจทำได้หลายรูปแบบ เช่น การแสดงในรูปนิทรรศการ ซึ่งมีทั้งการ
จัดแสดงและการอธิบายด้วยคำพูด หรือในรูปแบบของการจัดแสดงโดยไม่มีการอธิบายประกอบ
หรือในรูปแบบของการรายงานปากเปล่า  ไม่ว่าการแสดงผลงานจะอยู่ในรูปแบบใด                                      




ควรจัดทำให้ครอบคลุมประเด็นสำคัญดังต่อไปนี้
          1.  ชื่อโครงงาน
          2.  ชื่อผู้ทำโครงงาน
          3.  ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษาโครงงาน
          4.  ความเป็นมาและความสำคัญของโครงงาน
          5.  วิธีดำเนินการ
          6.  การสาธิตหรือแสดงผลที่ได้จากการทดลอง
          7.  ผลการสังเกตและข้อมูลเด่น ๆ ที่ได้จากการทำโครงงาน                                                                    ข้อคำนึงถึงในการจัดนิทรรศการโครงงานวิทยาศาสตร์   ควรคำนึงถึงสิ่งต่าง ๆ ต่อไปนี้
          1.  ความปลอดภัยของการจัดแสดง
          2.  ความเหมาะสมกับเนื้อที่ที่จัดแสดง
          3.  คำอธิบายที่เขียนแสดง  ควรเน้นเฉพาะประเด็นสำคัญและสิ่งที่น่าสนใจเท่านั้น  โดยใช้
ข้อความกะทัดรัด  ชัดเจน  และเข้าใจง่าย
          4.  ดึงดูดความสนใจของผู้เข้าชม  โดยใช้รูปแบบการแสดงที่น่าสนใจ  ใช้สีที่สดใสเน้นจุดสำคัญ
หรือใช้วัสดุต่าง ๆ ในการจัดแสดง
          5.  ใช้ตาราง และรูปภาพประกอบ  โดยจัดวางอย่างเหมาะสม
          6.  สิ่งที่แสดงทุกอย่างและการเขียนข้อความต้องถูกต้อง  ไม่มีการสะกดผิด  หรืออธิบาย
หลักการที่ผิด
          7.  ในกรณีที่เป็นสิ่งประดิษฐ์  สิ่งนั้นควรอยู่ในสภาพที่ทำงานได้อย่างสมบูรณ์                                           ข้อคำนึงถึงในการอธิบายหรือรายงานปากเปล่า  ควรคำนึงถึงสิ่งต่าง ๆ ต่อไปนี้
          1.  ต้องทำความเข้าใจกับเรื่องที่จะอธิบายเป็นอย่างดี
          2.  คำนึงถึงความเหมาะสมของภาษาที่ใช้กับระดับผู้ฟัง  ควรให้ชัดเจนและเข้าใจง่าย
          3.  ควรรายงานอย่างตรงไปตรงมา  ไม่อ้อมค้อม
          4.  พยายามหลีกเลี่ยงการอ่านรายงาน  แต่อาจจดหัวข้อสำคัญ ๆ ไว้เพื่อช่วยให้การรายงาน
เป็นไปตามขั้นตอน
          5.  อย่าท่องจำรายงาน  เพราะทำให้ดูไม่เป็นธรรมชาติ
          6.  ขณะที่รายงาน ควรมองตรงไปยังผู้ฟัง
          7.  เตรียมตัวตอบคำถามที่เกี่ยวกับเรื่องนั้น ๆ
          8.  ตอบคำถามอย่างตรงไปตรงมา ไม่จำเป็นต้องกล่าวถึงสิ่งที่ไม่ได้ถาม
          9.  หากติดขัดในการอธิบาย  ควรยอมรับโดยดี อย่ากลบเกลื่อนหรือหาทางเลี่ยงเป็นอย่างอื่น
         10.  ควรรายงานให้เสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนด

         11.  ควรใช้สื่อประเภทโสตทัศนูปกรณ์ประกอบการรายงานด้วย  เช่น  แผ่นโปร่งใส  หรือสไลด์เป็นต้น

แบบทดสอบเรื่องโครงงานวิทยาศาสตร์

แบบทดสอบเรื่องโครงงานวิทยาศาสตร์
1. โครงงานวิทยาศาสตร์แบ่งออกเป็นกี่ประเภท
ก. 1.                                                   ข. 2   
ค. 3                                                    ง. 4
2. การศึกษาวิธีการเพาะถั่วงอกจัดเป็นโครงงานประเภทใด
ก. โครงงานประเภทสิ่งประดิษฐ์                  ข. โครงงานประเภททดลอง
ค. โครงงานประเภทสำรวจ                         ง. โครงงานประเภททฤษฎี
3. ขั้นตอนในการทำโครงงานมีกี่ขั้นตอน
          ก.  4 ขั้นตอน                                         ข.  5 ขั้นตอน
          ค.  6  ขั้นตอน                                        ง.  7 ขั้นตอน
4. หัวข้อของโครงงาน หัวข้อใดสำคัญที่สุด
          ก.  ชื่อโครงงาน                                      ข.  ชื่อผู้ทำโครงงาน
          ค.  ชื่อที่ปรึกษาโครงงาน                           ง.  ชื่อวัสดุอุปกรณ์โครงงาน
5. ประโยชน์ของโครงงานวิทยาศาสตร์คือข้อใด
          . ช่วยพัฒนาความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และความเป็นผู้มีวิจารณญาณ
. ช่วยพัฒนานักเรียนให้เกิดความเชื่อมั่นในตนเอง
. ช่วยพัฒนานักเรียนให้เป็นคนที่คิดเป็น ทำเป็น และมีความสามารถในการแก้ปัญหา
ง. ถูกทุกข้อ

6. การทำโครงงานเหมาะสำหรับการศึกษาระดับใด
          ก. ระดับประถมศึกษา                     ข. ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
          ค. ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น             ง. ทุกระดับการศึกษา
7. ข้อใดมิใช่แหล่งศึกษาค้นคว้าวิชาโครงงาน          
ก. สำนักงานข่าวกรองแห่งชาติ            ข. ห้องสมุดและสถานประกอบการ                            ค. เอกสาร วารสาร สิ่งตีพิมพ์          ง. ผู้มีความรู้ ความชำนาญ หรือมีประสบการณ์
8. ใครเป็นผู้เขียนโครงงาน          
ก. นักเรียน                                  ข. ครูที่ปรึกษา        
 ค. ครูประจำชั้น                           ง. วิทยากรที่เชิญมาให้ความรู้
9. โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่อง "การศึกษาการ ตัดใบข้าวโพดที่มีผลกระทบต่อการเจริญ เติบโตและผลผลิต" จัดเป็นโครงงาน ประเภทใด
ก.  สำรวจ                                   ข.   ทดลอง
ค.  สร้างทฤษฎี                                       ง.   สิ่งประดิษฐ์
10. วิธีการใดที่สามารถนำมาใช้ในการป้องกัน แก้ไขผลกระทบอันเนื่องมาจากวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี
ก.  ศึกษาหาความรู้ในเรื่องนั้น ๆ อย่างเข้าใจและนำไปใช้ให้ก่อเกิดประโยชน์อย่างแท้จริง เช่น เรื่องสารเคมี สารกัมมันตรังสี เป็นต้น
ข.  ศึกษาทดลองมากขึ้น
ค.   รักษาสภาวะแวดล้อมให้อยู่ในสมดุล
ง.   ศึกษาและสังเกตปรากฏการณ์ต่าง ๆ รอบตัว


ประโยชน์ของโครงงานวิทยาศาสตร์

ความสำคัญและประโยชน์ของโครงงานวิทยาศาสตร์
ธีระชัย ปูรณโชติ (2531 : 3-4) ได้กล่าวถึงความสำคัญและประโยชน์ของโครงงานวิทยาศาสตร์ ไว้ดังต่อไปนี้
1. ช่วยส่งเสริมจุดมุ่งหมายของหลักสูตรและการเรียนวิทยาศาสตร์ให้สัมฤทธิ์ผลสมบูรณ์ยิ่งขั้น
2. ช่วยให้นักเรียนมีโอกาสเรียนรู้จากประสบการณ์ตรงในกระบวนการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองโดยอาศัยวิธีการทางวิทยาศาสตร์
3. ช่วยพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ได้ครบถ้วนสมบูรณ์ยิ่งขึ้นกว่าการเรียนในกิจกรรมการเรียนการสอนตามปกติ นักเรียนมีโอกาสได้ฝึกทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์บางทักษะซึ่งไม่ใคร่มีโอกาสในกิจกรรมการเรียนการสอนตามปกติ เช่น ทักษะการตั้งสมมติฐาน ทักษะการออกแบบการทดลอง และควบคุมตัวแปร เป็นต้น
4. ช่วยพัฒนาเจตคติทางวิทยาศาสตร์ เจตคติที่ดีต่อวิทยาศาสตร์ และความสนใจในวิชาวิทยาศาสตร์
5. ช่วยให้นักเรียนเข้าใจลักษณะและธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ดียิ่งขึ้น เช่น เข้าใจว่าวิทยาศาสตร์ไม่ได้หมายถึงแต่ตัวความรู้ในเนื้อหาสาระที่เกี่ยวกับธรรมชาติเท่านั้นแต่ยัง หมายถึงกระบวนการแสวงหาความรู้เหล่านั้น และมีเจตคติหรือค่านิยมทางวิทยาศาสตร์อีกด้วย การได้มาซึ่งความรู้เกี่ยวกับธรรมชาติจะต้องใช้กระบวนการแสวงหาความรู้ที่ได้จากการรวบรวมข้อมูลอย่างมีระบบโดยอาศัยการสังเกตเป็นพื้นฐานแต่ประสาทสัมผัสของมนุษย์ ซึ่งใช้ในการสังเกตมีขีดความสามารถจำกัดในการรับรู้ ดังนั้น วิทยาศาสตร์จึงมีขอบเขตจำกัดด้วย
6. ช่วยพัฒนาความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และความเป็นผู้มีวิจารณญาณ
7. ช่วยพัฒนานักเรียนให้เกิดความเชื่อมั่นในตนเอง
8. ช่วยพัฒนานักเรียนให้เป็นคนที่คิดเป็น ทำเป็น และมีความสามารถในการแก้ปัญหา
9. ช่วยพัฒนาความรับผิดชอบ และสร้างวินัยในตนเองให้เกิดขึ้นกับนักเรียน
10. ช่วยให้นักเรียนได้ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์และมีคุณค่า
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (2531 : 56) ได้กล่าวถึงคุณประโยชน์ของโครงงานวิทยาศาสตร์ไว้ดังนี้
1. สร้างจิตสำนึกและความรับผิดชอบในการศึกษาค้นคว้าหาความรู้ต่างๆ ด้วยตนเอง
2. เปิดโอกาสให้นักเรียนได้พัฒนาและแสวงหาความสามารถตามศักยภาพของตนเอง
3. เปิดโอกาสให้นักเรียนได้ศึกษา ค้นคว้าและเรียนรู้ในเรื่องที่ตนเองสนใจได้ลึกซึ้งไป
กว่าการเรียนในหลักสูตรปกติ
4. ทำให้นักเรียนมีความสามารถพิเศษโดยมีโอกาสแสดงความสามารถของตน
5. ช่วยกระตุ้นให้นักเรียนมีความสนใจในการเรียนวิทยาศาสตร์และมีความสนใจที่จะ
ประกอบอาชีพทางวิทยาศาสตร์
6. ช่วยให้นักเรียนได้ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ในการสร้างสรรค์
7. ช่วยสร้างความสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียนและระหว่างนักเรียนด้วยกันให้มีโอกาส
ทำงานใกล้ชิดกันมากขึ้น
8. ช่วยสร้างความสัมพันธ์ระหว่างชุมชนกับโรงเรียนให้ดีขึ้น โรงเรียนได้มีโอกาสเผยแพร่ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแก่ชุมชนซึ่งจะช่วยกระตุ้นให้ชุมชนได้สนใจวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมากขึ้น

สรุปได้ว่า โครงงานวิทยาศาสตร์มีความสำคัญและก่อประโยชน์โดยตรงแก่นักเรียนโดยตรงเป็นการฝึกให้นักเรียนรู้จักศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง สร้างความสัมพันธ์อันดีกับครูกับเพื่อนร่วมงาน รู้จักทำงานอย่างเป็นระบบใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ในการแก้ปัญหาและใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์

ขั้นตอนการทำโครงงานทางวิทยาศาสตร์

ขั้นตอนการทำโครงงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เรื่อง ขั้นตอนการทำโครงงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
การทำโครงงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นกิจกรรมที่ต่อเนื่องและมีการดำเนินงานหลายขั้นตอน
ขั้นตอนในการทำโครงงานตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงขั้นสุดท้ายอาจสรุปได้ดังนี้
1. การคิดและเลือกชื่อเรื่องที่จะทำโครงงาน
2. การศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง
3. การออกแบบการทดลอง
4. การจัดเค้าโครงโครงงานวิทยาศาสตร์
5. การลงมือทำโครงงานวิทยาศาสตร์
6. การเขียนรายงานโครงงานวิทยาศาสตร์
7. การแสดงผลงานโครงงานวิทยาศาสตร์

การคิดและเลือกชื่อเรื่องที่จะทำโครงงาน
แหล่งกำเนิดแนวความคิดและกระตุ้นความสนใจเพื่อให้ได้แนวความคิดในการเลือก
ชื่อเรื่อง เพื่อทำโครงงานพอสมควรได้ดังนี้
จากการอ่านหนังสือต่างๆ เช่น ตำรา หนังสือพิมพ์ วารสาร เป็นต้น ไม่เฉพาะแต่เรื่องราวทางวิทยาศาสตร์เท่านั้น
จากการไปเยี่ยมชมสถานที่ต่างๆ เช่น วนอุทยาน สวนสัตว์ พิพิธภัณฑ์ โรงงานอุตสาหกรรม สถานที่เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชและสัตว์ หน่วยงานวิจัย ห้องปฏิบัติการ
จากการฟังบรรยายทางวิชาการ การฟังและชมรายการทางวิทยุและโทรทัศน์
จากกิจกรรมการเรียนการสอนในโรงเรียน
จากงานอดิเรกของนักเรียน
จากการเข้าชมนิทรรศการหรืองานประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
จากการศึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่มีผู้อื่นทำไว้แล้ว
จากการสนทนากับครู อาจารย์ เพื่อนๆ หรือบุคคลอื่นๆ
จากการสังเกตปรากฏการณ์ต่างๆ รอบตัว
อาชีพของผู้ปกครอง ฯลฯ
ในการเลือกเรื่องสำหรับทำโครงงานนี้ เป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญมาก กล่าวกันว่า ถ้าเลือกเรื่องที่เหมาะสมในการทำโครงงานได้ก็เสมือนว่าได้ทำโครงงานเสร็จไปแล้วครึ่งหนึ่ง
องค์ประกอบบางประการที่จะช่วยให้นักเรียนสามารถเลือกชื่อเรื่องโครงงานหาโอกาสคุยกับครูบ่อยๆ เกี่ยวกับเรื่องของโครงงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีขอให้ครูเล่ารายละเอียดเกี่ยวกับโครงงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่อยู่ในความสนใจของนักเรียน
คุยกับเพื่อนนักเรียนที่เคยประสบความสำเร็จในการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ซักถามหรือคิดตอบคำถามที่ครูถามบ่อยๆอ่านเอกสารต่างๆ ที่มีบทความหรือเรืองราวการทดลองทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีหาโอกาสไปชมงานแสดงโครงงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ฝึกวิเคราะห์โครงงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เมื่อมีโอกาสไปชมหรืออ่านจากเอกสาร

หัวข้อโครงงานทางวิทยาศาสตร์

การเขียนเค้าโครงโครงงานวิทยาศาสตร์
การเขียนเค้าโครงโครงงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
หลังจากที่นักเรียนได้หัวเรื่องทำโครงงานที่เฉพาะเจาะจงและได้ศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องต่างๆ อย่างเพียงพอแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือการเขียนเค้าโครงของโครงงานเสนอต่ออาจารย์ที่ปรึกษาเพื่อขอความเห็นชอบก่อนดำเนินการขั้นต่อไป
เค้าโครงของโครงงานโดยทั่วไปจะเขียนขึ้นเพื่อแสดงแนวความคิด วางแผนและขั้นตอนของการทำโครงนั้นซึ่งควรประกอบด้วยหัวข้อต่อไปนี้
1. ชื่อโครงงาน
2. ชื่อผู้ทำโครงงาน
3. ชื่อที่ปรึกษาโครงงาน
4. ที่มาและความสำคัญของโครงงาน
อธิบายว่าเหตุใดจึงเลือกทำโครงงานนี้ โครงงานเรื่องนี้มีความสำคัญอย่างไรมีหลักการหรือทฤษฎีอะไรที่เกี่ยวข้อง เรื่องที่ทำเป็นเรื่องใหม่หรือมีผู้อื่นได้เคยศึกษาค้นคว้าเรื่องทำนองนี้ไว้บ้างแล้ว ถ้ามีได้ผลเป็นอย่างไร เรื่องที่ทำนี้ได้ขยายเพิ่มเติมปรับปรุงจากเรื่องผู้อื่นทำไว้อย่างไร หรือเป็นการทำซ้ำเพื่อการตรวจสอบผล
5. จุดมุ่งหมายของการศึกษาค้นคว้า / วัตถุประสงค์การทำโครงงาน
6. สมมติฐานของการศึกษาค้นคว้า (ถ้ามี)
7. วิธีดำเนินงาน
7.1 วัสดุอุปกรณ์ที่ต้องใช้
ระบุว่าวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้มีอะไรบ้าง จะได้วัสดุอุปกรณ์เหล่านั้นมาจากไหน วัสดุอุปกรณ์อะไรบ้างที่ต้องจัดซื้อ อะไรบ้างที่ต้องทำเอง อะไรบ้างที่ยืมได้
7.2 แนวการศึกษาค้นคว้า
อธิบายว่าจะออกแบบการทดลองอย่างไร จะสร้างหรือประดิษฐ์อะไรอย่างไร จะเก็บข้อมูลอะไรบ้าง บ่อยครั้งหรือมากน้อยเพียงใด ใช้อะไรตรวจสอบผล และวิเคราะห์ / สรุปผลข้อมูลอย่างไร
8. แผนปฏิบัติงาน
อธิบายเกี่ยวกับกำหนดเวลาเริ่มต้นแลเวลาเสร็จของการดำเนินงานในแต่ละขั้นตอน
9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
กล่าวถึงประโยชน์ที่จะได้รับจากโครงงานนี้

10. เอกสารอ้างอิง

ประเภทของโครงงาน

โครงงานวิทยาศาสตร์
เรื่องประเภทของโครงงานวิทยาศาสตร์
โครงงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแบ่งออกเป็น 4 ประเภท
1. โครงงานประเภทการทดลอง
เด่นของโครงงานประเภทนี้คือ เป็นโครงงานที่มีการออกแบบการทดลองเพื่อศึกษาของตัวแปรหนึ่งที่มีต่อแปรอีกตัวหนึ่งที่ต้องการศึกษา โดยควบคุมตัวแปรอื่นๆ ที่อาจมีผลต่อตัวแปรที่จะต้องการศึกษาเอาไว้ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง โครงงานที่จะจัดเป็นโครงงานประเภทการทดลองได้ จะต้องเป็นโครงงานที่มีการจัดกระทำกับตัวแปรต้น หรือเรียกอกอย่างหนึ่งว่า ตัวแปรอิสระ มีการวัดตัวแปรตาม (ผลที่ต้องการ) และควบคุมตัวแปรอื่นๆ ที่ไม้ต้องการศึกษา โดยทั่วไป ขั้นตอนการดำเนินงานของโครงงานประเภทนี้จะประกอบด้วย การกำหนดปัญหา การตั้งจุดมุ่งหมาย สมมติฐาน การกำหนดตัวแปรต่าง การออกแบบการทดลอง การรวบรวมข้อมูล การดำเนินการทดลอง การแปรผลและการสรุปผล
2. โครงงานประเภทสำรวจรวบรวม
ลักษณะเด่นของโครงงานประเภทนี้ ไม่มีการจัดหรือกำหนดตัวแปรต่างๆ ที่ต้องการศึกษา โครงงานประเภทสำรวจรวบรวมข้อมูลนี้ ผู้ทำโครงงานเพียงต้องการสำรวจและรวบรวมข้อมูล แล้วนำข้อมูลนั้นมาจำแนกเป็นหมวดหมู่ และนำเสนอในรูปแบบต่างๆ เพื่อให้เห็นลักษณะหรือความสัมพันธ์ในเรื่องที่ต้องการศึกษาได้ชัดเจนยิ่งขึ้นการสำรวจและรวบรวมข้อมูลนี้อาจทำได้ในหลายรูปแบบ เช่น การออกไปเก็บข้อมูลในภาคสนาม ซึ่งในบางครั้ง บางเรื่องก็สามารถเก็บรวบรวมข้อมูลต่างๆ ที่ต้องการในท้องถิ่น หรือในสถานที่ต่างๆ ที่ต้องการศึกษาค้นคว้า ในขณะที่ออกไปปฏิบัติการนั้นโดยไม่ต้องนำวัตถุตัวอย่างกลับมาวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการอีก ตัวอย่างโครงงานประเภทนี้ได้แก่
- การสำรวจประชากรและชนิดของสิ่งต่างๆ เช่น สัตว์ พืช หิน แร่ ฯลฯ ในท้องถิ่น หรือในบริเวณที่ต้องการศึกษา
- การสำรวจพฤติกรรมด้านต่าง ๆ ของสัตว์ในธรรมชาติ
- การสำรวจทิศทางและอัตราเร็วลมในท้องถิ่น
- การสำรวจการผุกร่อนของสิ่งก่อสร้างที่ทำด้วยหินอ่อนในแหล่งต่างๆ ฯลฯ
ในบางครั้งการออกภาคสนามก็เพื่อไปเก็บวัสดุตัวอย่างมาวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการ เพราะไม่สามารถที่จะวิเคราะห์และรวบรวมข้อมูลได้ทันที ในขณะออกไปปฏิบัติการภาคสนาม ตัวย่างโครงงานประเภทนี้ ได้แก่
- การสำรวจคุณภาพน้ำ เช่น ความขุ่น ความเป็นกรด เบส ค่า BOD ฯลฯ
แหล่งน้ำต่างๆ ที่ต้องการศึกษา เช่น บริเวณใกล้ๆ โรงงานน้ำอัดลม โรงงานผลิตสุรา ฯลฯ
- การศึกษาสมบัติ เช่น จุดเดือด จุดหลอมเหลว ความหนาแน่น ของสารต่างๆ
ที่สกัดได้จากวัสดุหรือพืชชนิดใดชนิดหนึ่งที่ต้องการศึกษา
- การสำรวจคุณภาพของดิน เช่น ความชื้น ปริมาณสารอินทรีย์ ความเป็นกรด
เบส จากแหล่งต่างๆ ที่ต้องการศึกษา
- การศึกษาสำรวจมลพิษของอากาศในแหล่งต่างๆฯลฯ
ในการสำรวจรวบรวมข้อมูลบางอย่างแทนที่จะต้องอออกไปสำรวจตามธรรมชาติบางครั้งก็อาจจำลองธรรมชาติขึ้นในห้องปฏิบัติการแล้วสังเกต และศึกษารวบรวมข้อมูลต่างๆ ในธรรมชาติจำลองนั้นๆ เช่น
- การศึกษาวงจรชีวิตไหมที่เลี้ยงในห้องปฏิบัติการ
- การศึกษาพฤติกรรมของมดที่เลี้ยงในห้องปฏิบัติการฯลฯ


3. โครงงานประเภทสิ่งประดิษฐ์
ลักษณะเด่นของโครงงานประเภทนี้ เป็นโครงงานที่เกี่ยวกับการประยุกต์ทฤษฎีหรือหลักการทางวิทยาศาสตร์มาประดิษฐ์ เครื่องมือ เครื่องใช้ หรืออุปกรณ์ เพื่อประโยชน์ใช้สอยต่างๆ ซึ่งอาจเป็นการคิดประดิษฐ์สิ่งของใหม่ หรือปรับปรุงเปลี่ยนแปลงของเดิมที่มีอยู่แล้วให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นก็ได้ โครงงานประเภทนี้รวมไปถึง การสร้างแบบจำลองเพื่ออธิบายแนวความคิดต่างๆ โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ไปแก้ปัญหาต่างๆ
4. โครงงานประเภททฤษฎี

เป็นโครงงานเกี่ยวกับการนำเสนอ ทฤษฎี หลักการ หรือแนวความคิดใหม่ๆ ซึ่งอาจอยู่ในรูปของสูตร สมการ หรือคำอธิบายโดยผู้เสนอได้ตั้งกติกาหรือข้อตกลงเอง แล้วเสนอทฤษฎี หลักการแนวความคิด หรือจินตนาการของตนเองตามกติกา หรือข้อตกลงนั้น หรืออาจใช้กติกา หรือข้อตกลงอันเดิมมาอธิบายสิ่งหรือปรากฏการณ์ต่างๆ ในแนวใหม่ ทฤษฎี หลักการ แนวความคิดหรือจินตนาการที่เสนอนี้อาจจะใหม่ไม่มีใครคิดมาก่อน หรืออาจขัดแย้งกับทฤษฎีเดิม หรือเป็นการขยายทฤษฎีหรือแนวความคิดเดิมก็ได้ การทำโครงงานประเภทนี้ จุดสำคัญอยู่ที่ผู้ต้องมีพื้นฐานความรู้ในเรื่องนั้นๆ เป็นอย่างดี จึงจะสามารถเสนอโครงงานประเภทนี้ได้อย่างมีเหตุผล และน่าเชื่อถือ หรืออาจทำได้โดยสร้างเครื่องมือขึ้นประกอบการอธิบาย โดยทั่วไปโครงงานประเภทนี้จัดเป็นวิทยาศาสตร์บริสุทธิ์หรือโครงงานทางคณิตศาสตร์